ปลาทูน่า เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันและคลอเลสเตอรอลต่ำ เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่ ทั้งวิตามิน B12 ไอโอดีน ฟอสฟอรัส ซิลิเนียม สังกะสี และแคลเซียม อีกทั้งยังให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ คือ โอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ และยังช่วยลดคลอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันไขมันอุดตัดหลอดเลือด และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก คนรักสุขภาพ เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย
Wednesday, June 10, 2009
1. ปลาทะเลน้ำลึก
ปลาทูน่า เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันและคลอเลสเตอรอลต่ำ เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่ ทั้งวิตามิน B12 ไอโอดีน ฟอสฟอรัส ซิลิเนียม สังกะสี และแคลเซียม อีกทั้งยังให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ คือ โอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ และยังช่วยลดคลอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันไขมันอุดตัดหลอดเลือด และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก คนรักสุขภาพ เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย
2. หอยนางรม
ส่วนประกอบและคุณสมบัติของหอยนางรม
2. Glycogen เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ที่สามารถนำไป ใช้งานได้โดยตรงทันที เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย หรือต้องการกำลังงานเพิ่ม
3. อาหารที่อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน
4. อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี
ผลกีวีส่วนใหญ่จะนำมาใช้ตกแต่งหน้าเค้ก ค็อกเทล ชีส สลัด หรือในซีเรียล รวมทั้งคั้นเป็นน้ำ ซึ่งภายในรสชาติเปรี้ยว อมหวานของกีวีนั้นจะเต็มไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ วิตามินดี เกลือแร่ เบต้าแคโรทีน ไฟเบอร์ โพแทสเซียม แมกนีเซียม ทองแดง และฟอสฟอรัส ซึ่งสารอาหารต่างๆ เหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. ป้องกันดีเอนเอถูกทำลาย นักวิจัยให้ความสนใจในเรื่องประโยชน์ของกีวีในด้านต่างๆ จากการศึกษาในกลุ่มของเด็กชาวอิตาลีวัย 6-7 ขวบ โดยให้กินกีวีเป็นประจำทุกวัน พบว่าระบบการหายใจทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งแสดงว่ากรดซิทริกในกีวี ทำหน้าที่ป้องกันดีเอนเอ จากส่วนกลางของเซลล์ร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับก๊าซออกซิจน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกีวีประกอบไปด้วยสาร flavonoids และ carotenoids ที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ แต่นักวิจัยกลุ่มนี้ยังไม่ได้ทำการศึกษาแน่ใจว่าส่วนประกอบในกีวี จะทำหน้าที่ ต่อต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในร่างกายได้จริงหรือไม่
2. การป้องกันอนุมูลอิสระ เนื่องจากในกีวีเต็มไปด้วยวิตามินซี ซึ่งเป็นตัวละลายสารอนุมูลอิสระขั้นต้นในร่างกาย ทำให้เกิดความเป็นกลางในอนุมูล นั้น โดยอนุมูลจะเข้าไปทำลายเซลล์ร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น การติดเชื้อ โรคมะเร็ง โรคไขข้ออักเสบ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหืด ไขมันอุดตันในเส้นเลือด แก้วหูอักเสบ เป็นต้น หากได้รับปริมาณวิตามินซีในจำนวนที่เพียงพอจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายดีขึ้น โดยวิตามินเอในกีวีมีคุณสมบัติในในการละลายไขมัน ซึ่งวิตามินเอเป็นแหล่งอาหารของเบต้าแคโรทีน เมื่อเข้าไปรวมกับไขมันและน้ำในร่างกาย ทำให้สามารถละลายพิษจากอนุมูลอิสระต้นเหตุของการเกิดโรคดังที่กล่าวข้างต้นได้
3. ควบคุมน้ำตาลในเลือดและระบบขับถ่าย นักวิจัยพบว่าไฟเบอร์ในอาหารโดยเฉพาะในกีวี สามารถป้องกันระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งจะลดปัญหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหัวใจล้มเหลว โดยไฟเบอร์จะเข้าไปจับพิษให้ออกไปจากลำไส้ใหญ่พร้อมกับอุจจาระ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการป้องกันมะเร็งในลำไส้ใหญ่ อีกทั้งไฟเบอร์ยังเป็นตัวช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย
4. ป้องกันจากโรคหืด อาหารที่เต็มไปด้วยวิตามินซีมีคุณสมบัติสำคัญในการป้องกันผลกระทบ จากอาการระบบหายใจผิดปกติ โดยเฉพาะโรคหอบหืดซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจโดยตรง
จากรายงานการวิจัยเมื่อเดือนเมษายน 2004 ของ Thorax ในกลุ่มเด็กอายุ 6-7 ปี จำนวน 18,737 คน ซึ่งบริโภคผลไม้ ที่มีกรดซิทริกคือกีวี ประมาณ 5-7 ลูก/สัปดาห์ พบกว่าเด็กกลุ่มนี้มีอัตราการหายใจติดขัดลดลง 44% อาการไอเรื้อรังลดลง 25% และอาการน้ำมูกไหลลดลง 28% เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่กินน้อยกว่า 1-2 ลูก/สัปดาห์
5. ป้องสายตาฝ้าฟาง จากรายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2004 ของ Opthamology เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้หญิง 77,562 คน และผู้ชาย 40,866 คน โดยให้กินกีวี 3 ลูก/วัน พบว่าอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสายตาฝ้าฟางที่มักจะเกิดในผู้สูงอายุลดน้อยลงประมาณ 36% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่กินวันละ 1.5 ลูก แสดงว่าสารอาหารอย่างวิตาเอ วิตามินซี วิตามิเอ และแคโรทีนที่อยู่ภายในกีวีมีผลต่อระบบการทำงานของสายตา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาการสายตา
6. ป้องกันโลหิตจาง กินกีวีวันละ 2 ลูก ลดความเสี่ยงต่อการจับตัวเป็นก้อนลิ่มเลือดและลดไขมันในเลือด เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับคนที่มีเลือดจางที่ต้องใช้ยาลดไข้หรือแอสไพริน เนื่องจากในตัวยานี้สามารถทำให้เกิดอาการติดเชื้อ แผลอักเสบ และเลือดออกในระบบลำไส้ได้ โดยการศึกษาในกลุ่มคนที่กินกีวีวันละ 2-3 ลูกเป็นเวลา 28 วัน พบว่าการตอบสนองในการรวมตัวของเกล็ดเลือดลดลง 15% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้กินกีวี แสดงว่าสารอาหารอย่างแมงกานีส โพแทสเซียม และทองแดง ในกีวีทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นปกติและป้องกันหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หากไม่ยากเกินไปลองหากีวีมากินวันละ 2-3 ลูกน่าจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงได้ไม่ยาก แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องราคาสูงเพราะราคาของผลกีวีสดในประเทศไทยที่ยังแพงอยู่ ซึ่งยังมีอีกทางเลือกหนึ่งคือน้ำกีวีบรรจุกล่อง โดยให้สารอาหารใกล้เคียงกับผลสดและหาซื้อได้ง่ายตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป
5. อะโวคาโด
เมื่อกินผลอะโวคาโดเป็นประจำ ก็จะช่วยลดโดคเลสเตอรอลในเส้นเลือดลงได้ด้วย รวมทั้งยังให้พลังงานสูงแต่มีน้ำตาลต่ำ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงสามารถกินได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีโปรตีนสูงซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีวิตามินสูง ทั้งวิตามินอี วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี และยังให้กากใยมากจึงเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายอย่างมากเลยทีเดียว
6. กระเทียม
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ เพราะในกระเทียมมีสาร allicin อัลลิซิน แต่สารนี้มีในกระเทียมสด ถ้าเก็บไว้นาน ๆ หรือถ้ากระเทียมถูกความร้อนสารนี้จะสลายไป กระเทียมดองสามารถรักษาสารนี้ไว้ได้นานกว่า การกินกระเทียมเพื่อลดระดับคลอเลสเตอรอลนั้นต้องกินกระเทียม 10-15กลีบต่อวันหรือ 2-5 กรัมต่อวัน และควรจะบดให้กระเทียมละเอียดก่อนและต้องกินทันทีห้ามทิ้งไว้นาน
ข้อเสีย
1. กระเทียมจะตกตะกอนทำให้มีฤทฺธิ์ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร จึงควรรับประทานพร้อมโปรตีนไม่ควรรับประทานตอนท้องว่าง
2. ทำให้มีอาการแพ้กระเทียมได้ ผื่นคัน หอบหืด
3. กินกระเทียมนาน ๆ เป็นพิษได้ คือทำให้เลือดแข็งตัวช้า ถ้ากินร่วมกับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดจะเสริมฤทธิ์กัน อันตรายมากโดยเฉพาะถ้าท่านจะต้องถูกทำผ่าตัด เพราะเลือดจะไหลไม่หยุด
ข้อคิด การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเลือดได้ดีกว่ากินกระเทียมวันละ10-15 กลีบ ที่สำคัญกินกระเทียมมากนั้นเหงื่อออกมาจะมีกลิ่นกระเทียมด้วย
7. หอมหัวใหญ่
8. เมล็ดอัลมอนด์
ทั้ง HDL และ LDL จะเป็นตัวพาคลอเลสเตอรอลเคลื่อนที่ไปตามกระแสเลือด หากร่างกายมี LDL หรือไขมันเลวในปริมาณมาก คอเลสเตอรอลจะเคลื่อนที่ลำบาก และจะสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ตามเส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงหัวใจและสมอง และถ้าคลอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือดไปรวมตัวกับสารอื่น อาจเกิดเป็นลิ่มไขมันทำให้หลอดเลือดตีบตัน ขัดขวางการไหลเวียนของกระแสเลือด หากเส้นเลือดตีบตันที่หัวใจ อาจทำให้เกิดโรคหัวใจ และหากเส้นเลือดตีบตันที่สมอง อาจทำให้เป็นอัมพาตได้ แต่ถ้าร่างกายเรามีไขมันดี หรือ HDL มากกว่า ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เพราะ HDL จะช่วยให้คลอเลสเตอรอลเคลื่อนที่ได้ดี และทำให้คลอเลสเตอรอลหลุดออกจากผนังหลอดเลือด และส่งไปยังตับเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย
ในต่างประเทศมีการวิจัยถึงประโยชน์ของอัลมอนด์อย่างจริงจังกันมานานแล้ว ซึ่งผลการวิจัยจากหลากหลายสถาบันให้ผลตรงกันว่า อัลมอนด์มีบทบาทกับสุขภาพหัวใจอย่างมาก เพราะมีส่วนประกอบสำคัญอย่างกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน เมื่อรับประทานเป็นประจำ จึงมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี
ผลการวิจัยจากสถาบันชั้นนำทั้งในยุโรปและอเมริกายังพบว่า ถ้ารับประทานอัลมอนด์เพียงวันละ 1 หยิบมือ ช่วยลด LDL ได้ถึง 4.4% และถ้ารับประทาน 2 หยิบมือต่อวัน ช่วยลด LDL ได้ถึง 9.4% รวมไปถึงผลวิจัยจาก Nation Cholesterol Education Program ก็รายงานผลออกมาในรูปแบบเดียวกัน
นอกจากกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายแล้ว อัลมอนด์ยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ โปรตีนจากพืช วิตามินบี วิตามินอี และโอเมก้า 3 ซึ่งจำเป็นสำหรับการเสริมสร้างเซลล์ที่สึกหรอของผิวหนัง เส้นผม ทั้งยังช่วยชะลอริ้วรอยก่อนวัย รวมทั้งไฟเบอร์ที่ได้จากอัลมอนด์ยังช่วยลดการเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
ถึงแม้ว่าอัลมอนด์จะมีสารอาหารประเภทไขมันในปริมาณที่สูง แต่ไขมันจากอัลมอนด์นั้นเป็นไขมันที่ดี ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลและจำเป็นต่อกระบวนการทำงานของร่างกาย ดังนั้น อัลมอนด์จึงเป็นอาหารที่ได้รับการแนะนำให้รับประทานเพื่อลดคลอเลสเตอรอลและรับประทานแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว โดยไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เราจึงรับประทานอัลมอนด์แทนของหวานหรือขนมขบเคี้ยวระหว่างวันได้
9. น้ำมันมะกอก
1. Extra Virgin Oil เป็นน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ จากการบีบจากลูกมะกอก มีสีเขียวเข้มใส นิยมนำมาใช้ในการทำสลัด น้ำจิ้ม หรือเครื่องปรุงรสอื่น ๆ
2. Refined Olive เป็นน้ำมันมะกอกที่ผ่านการกลั่น ราคาจะถูกกว่าชนิดแรก และมีสีเขียวใสกว่า 3. Olive Oil เป็นน้ำมันมะกอกที่ให้สีอ่อนกว่าสองชนิดแรก เป็นการผสมระหว่างน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์กับน้ำมันมะกอกที่ผ่านการกลั่น เหมาะสำหรับปรุงอาหารที่ไม่ต้องการกลิ่นที่รุนแรงหรือสำหรับคนที่ลองใช้น้ำมันมะกอกในการปรุงอาหาร ราคาถูกกว่า 2 ชนิดแรก
1. นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำสลัด น้ำจิ้ม
2. นำมาใช้ในการผัดชนิดที่ใช้น้ำมันน้อย เช่นผัดผักเร็ว ๆ ผัดกระเพรา มักกะโรนี สปาเก็ตตี พาสต้า
3. นำมาใช้ในการหมักเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปอบจะทำให้เนื้อนุ่มขึ้น
4. ใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอด จะช่วยให้อาหารไม่อมน้ำมัน เนื่องจากน้ำมันมะกอกจะให้ความร้อนสูงทำให้อาหารสุกทั่วถึงอย่างรวดเร็ว ไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ